การเล่นลูกสองมือล่าง

                                            แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๖
กลุ่มสาระการเรียนรู้ สุขศึกษาและพลศึกษา               สาระที่ ๓            ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๔ เรื่อง การเล่นลูกบอลด้วยมือล่าง ๒                              เวลา ๑ ชั่วโมง
…………………………………………………………………………………………………………………

๑. สาระสำคัญ
          การเล่นลูกบอลด้วยมือล่างด้านหน้า โต้คู่ และลูกตั้งสูงเป็นทักษะพื้นฐานที่สำคัญ
ในการเล่นวอลเลย์บอลที่นิยมเล่นกันมาก และเหมาะสำหรับผู้ที่หัดเล่นใหม่ อีกทั้งยัง
สามารถนำไปใช้ในการออกกำลังกายในชีวิตประจำวัน เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพทาง
ร่างกายและทางจิตใจได้

๒. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
          สาธิตทักษะการเล่นลูกบอลด้วยมือล่างด้านหน้า โต้คู่ และลูกตั้งสูงได้

๓. จุดประสงค์การเรียนรู้
          ๓.๑ อธิบายและแสดงวิธีการเล่นลูกบอลด้วยมือล่างด้านหน้าได้อย่างน้อย ๕ ครั้ง
          ๓.๒ อธิบายและแสดงวิธีการเล่นลูกบอลด้วยมือล่างโต้คู่ได้อย่างน้อย ๕ ครั้ง
          ๓.๓ อธิบายและแสดงวิธีการเล่นลูกบอลด้วยมือล่างลูกตั้งสูงได้อย่างน้อย ๘ ครั้ง

๔. สาระการเรียนรู้
          ๔.๑ การเล่นลูกบอลด้วยมือล่าง ลูกตั้งสูง
          ๔.๒ การเล่นลูกบอลด้วยมือล่าง ด้านหน้า
          ๔.๓ การเล่นลูกบอลด้วยมือล่าง โต้คู่
          ๔.๔ รายละเอียดข้อ ๔.๑ – ๔.๓ อยู่ในแบบฝึกปฏิบัติที่ ๖.๑ เรื่อง แบบฝึกการเล่นลูกบอล
                ด้วยมือล่างด้านหน้า โต้คู่ และลูกตั้งสูง ดังแนบอยู่ท้ายแผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๖
๕. กิจกรรมการเรียนรู้
          ๕.๑ ขั้นนำ / ขั้นเตรียม (๕ – ๑๐ นาที)
                ๕.๑.๑ นักเรียนเข้าแถวตอน แบ่งออกเป็น ๕ กลุ่ม หัวหน้ากลุ่มแต่ละกลุ่ม สำรวจ
                          รายชื่อนักเรียน ความสะอาด เครื่องแต่งกาย และสุขภาพของนักเรียน
                          ในกลุ่ม เพื่อเตรียมความพร้อมและความปลอดภัย
               ๕.๑.๒ นักเรียนทุกกลุ่มบริหารร่างกาย โดยแต่ละกลุ่มส่งตัวแทน กลุ่มละ ๑ คน
                          ผลัดเปลี่ยนกันเป็นผู้นำการบริหารร่างกายกลุ่มละ ๑ ท่า ท่าละ ๑๐ – ๒๐
                          ครั้ง ท่าบริหารร่างกายเป็นท่าที่เกิดจากความคิดของกลุ่ม หรือศึกษาจาก
                          เนื้อหาความรู้ที่ ๒.๒ เรื่อง ท่าบริหารร่างกายในคาบที่ผ่านมา

 


        
       ๕.๑.๓ ครูผู้สอนสนทนากับนักเรียนถึงประสบการณ์ในการชมการแข่งขัน หรือ
                          เล่นลูกบอลด้วยมือล่างด้านหน้า โต้คู่ ลูกตั้งสูง และชี้ให้เห็นถึงประโยชน์
                          และความสำคัญของทักษะที่ทุกคนควรทราบ และเป็นพื้นฐานต่อไป
          ๕.๒ ขั้นสอน (๑๐ – ๑๕ นาที)
                ๕.๒.๑ ครูทำแผ่นภาพแบบฝึกปฏิบัติให้นักเรียนศึกษา พร้อมเปิดโอกาสให้ตัวแทน
                          นักเรียนร่วมอธิบายและสาธิต ท่า และวิธีการฝึกแบบฝึกปฏิบัติที่ ๖.๑
                          ทั้ง ๔ แบบ
          ๕.๓ ขั้นฝึก (๑๕- ๒๐ นาที)
                ๕.๓.๑ นักเรียนแบ่งกลุ่ม ๆ ละ ๔ คน ตัวแทนแต่ละกลุ่มจับฉลากแบบฝึกปฏิบัติ
                          ที่ ๖.๑ เรื่อง การเล่นลูกบอลด้วยมือล่างด้านหน้า โต้คู่ และลูกตั้งสูง
                          กลุ่มละ ๑ แบบ
                ๕.๓.๒ นักเรียนแต่ละกลุ่มไปศึกษาแบบฝึกจากกลุ่มอื่นอีก ๒ แบบ และฝึกปฏิบัติ
                ๕.๓.๓ ครูผู้สอนคอยให้การดูแลช่วยเหลือ แนะนำ ส่งเสริมและปรับปรุงแก้ไข
                          ในกรณีที่นักเรียนไม่สามารถปฏิบัติได้ถูกต้อง จนปฏิบัติได้ถูกต้อง
          ๕.๔ ขั้นใช้ (๕ – ๑๐ นาที)
                ๕.๔.๑ แข่งขันเล่นเกม “ เล่นลูกสองมือล่างลูกตั้งสูง” เน้นความสนุกสนาน
                           ความซื่อสัตย์ กติกาและวิธีเล่น
                                    ๑) ลูกบอลที่อันเดอร์ (เล่นลูกสองมือล่าง) จะต้องสูงจากศีรษะ
                                        อย่างน้อย ๑ เมตร
                                    ๒) แข่งขันทีละกลุ่ม (กลุ่มตามข้อ ๕.๑.๑) โดยให้ทุกคนในกลุ่มถือ
                                         ลูกบอลคนละ ๑ ลูก เมื่อได้ยินสัญญาณนกหวีดให้อันเดอร์บอล
                                         และนับจำนวนครั้งที่ตนทำไว้ได้
                                    ๓) นักเรียนที่เล่นแล้วลูกบอลตกพื้นถือว่าเสีย ให้กลับมานั่งที่ของกลุ่ม
                                         ตนเองจนเหลือคนสุดท้ายของกลุ่ม
                                    ๔) คนสุดท้ายของกลุ่มใดทำได้จำนวนครั้งมากที่สุดเป็นผู้ชนะ
          ๕.๕ ขั้นสรุปและสุขปฏิบัติ (๕ – ๑๐ นาที)
                ๕.๕.๑ นักเรียนร่วมกันอภิปราย ซักถาม แสดงความคิดเห็นและสรุปความรู้
                           ความเข้าใจเกี่ยวกับการเล่นลูกสองมือล่างด้านหน้า โต้คู่ และลูกตั้งสูง
                           โดยครูผู้สอนร่วมชี้แนะเพิ่มเติมพร้อมสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม
                           เช่นความซื่อสัตย์ ความมีน้ำใจนักกีฬา เป็นต้น
                ๕.๕.๒ นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมสุขปฏิบัติ (ทำความสะอาดร่างกาย เช่น มือ แขน
                           และใบหน้า)
 

๖. วัสดุ อุปกรณ์ สื่อและแหล่งเรียนรู้
          ๖.๑ ภาพแบบฝึกปฏิบัติที่ ๖.๑ เรื่อง แบบฝึกการเล่นลูกด้วยมือล่างด้านหน้า โต้คู่ และ
               ลูกตั้งสูง
          ๖.๒ ลูกวอลเลย์บอล ๒๐ – ๒๕ ลูก
๗. การวัดผลและการประเมินผล
          ๗.๑ วิธีการวัด / สิ่งที่วัด
                ๗.๑.๑ สังเกตพฤติกรรมและการปฏิบัติ การเล่นลูกสองมือล่างด้านหน้า
                          โต้คู่ และลูกตั้งสูง
          ๗.๒ เครื่องมือวัด
                ๗.๒.๑ แบบสังเกตพฤติกรรมและการปฏิบัติ การเล่นลูกสองมือล่างด้านหน้า
                          โต้คู่ และลูกตั้งสูง
          ๗.๓ เกณฑ์การวัด
                ๗.๓.๑ นักเรียนได้คะแนนจากแบบสังเกตพฤติกรรมและปฏิบัติกิจกรรม
                          ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕๐ จึงจะถือว่าผ่านเกณฑ์การประเมิน

๘. กิจกรรมเสนอแนะ
          ๘.๑ นักเรียนศึกษา ค้นคว้าเพิ่มเติมจากแผ่น CD บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
                 (CAI) เรื่อง การเล่นลูกบอลด้วยมือล่าง เพื่อเพิ่มความรู้และสามารถนำไปเป็น
                 แบบอย่างในการฝึกปฏิบัติให้เกิดทักษะ สามารถปฏิบัติได้ และเกิดความชำนาญต่อไป
          ๘.๒ ในกรณีที่มีนักเรียนไม่สามารถปฏิบัติได้ถูกต้องตามกำหนดเวลา ครูผู้สอน
                 มอบหมายให้นักเรียนไปศึกษาสื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) เรื่อง                  การเล่นลูกบอลด้วยมือล่าง และกำหนดวันเวลานัดหมาย ในการทดสอบ ในการ
                 ปฏิบัติ เพื่อติดตามผลการพัฒนาในการเล่นลูกบอลด้วยมือล่างต่อไป
 

 
ความคิดเห็นหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้   
………………………………………………………………………………………………………………….
………………………………………………………………………………………………………………….
………………………………………………………………………………………………………………….
………………………………………………………………………………………………………………….
                                       
                                                     ลงชื่อ…………………………………. หัวหน้ากลุ่มสาระ
                                                             (…………………………………. )
                                                            …………../……………/…………..

ความคิดเห็นรองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารงานวิชาการ   
………………………………………………………………………………………………………………….
………………………………………………………………………………………………………………….
………………………………………………………………………………………………………………….
………………………………………………………………………………………………………………….

                                      
                                ลงชื่อ…………………………………. รองฯ.ฝ่ายบริหารงานวิชาการ
                                        (…………………………………. )
                                       …………../……………/…………..

ความคิดเห็นผู้อำนวยการโรงเรียน   
………………………………………………………………………………………………………………….
………………………………………………………………………………………………………………….
………………………………………………………………………………………………………………….
………………………………………………………………………………………………………………….
                                       
                                             
                                             ลงชื่อ…………………………………. ผู้อำนวยการโรงเรียน
                                                    (………………………………….)
                                                   …………../……………/…………..

วอลเลย์บอล

                                              

การเล่นลูกสองมือ 

 

 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๑
กลุ่มสาระการเรียนรู้ สุขศึกษาและพลศึกษา                สาระที่ ๓              ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓
หน่วยการเรียนรู้ที่๑ เรื่องปฐมนิเทศและความรู้เกี่ยวกับกีฬาวอลเลย์บอล            เวลา ๑ ชั่วโมง
…………………………………………………………………………………………………………………

๑. สาระสำคัญ
          กีฬาวอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่ดัดแปลงมาจากกีฬา ๓ ชนิด คือ เทนนิส เบสบอล และ
แฮนด์บอล เข้าด้วยกัน ทำให้ผู้เล่นต้องมีการเคลื่อนที่ ที่ต้องอาศัยความสัมพันธ์ของระบบ
ประสาท และระบบกล้ามเนื้อ ทำให้ผู้เล่นมีสมรรถภาพทางกายที่ดี วอลเลย์บอลเป็นกีฬา
ประเภททีมที่ช่วยเสริมสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ และฝึกความเป็นผู้นำ ผู้ตามที่ดี
สามารถเล่นด้วยความสุขสนุกสนานเกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม

๒. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
          รู้ และเข้าใจเกี่ยวกับความรู้ทั่วไปของกีฬาวอลเลย์บอล และข้อตกลงเบื้องต้น
ในการเรียนการสอนวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา พ ๓๓๑๐๑ (วอลเลย์บอล)

๓. จุดประสงค์การเรียนรู้
          ๓.๑ บอกจุดประสงค์การเรียนรู้วิชาสุขศึกษาและพลศึกษา พ.๓๓๑๐๑ (วอลเลย์บอล)
                ได้ถูกต้อง
          ๓.๒ บอกการวัดการประเมินผล และการปฏิบัติตนระหว่างเรียนได้ถูกต้อง
          ๓.๓ อธิบายประวัติความเป็นมา ประโยชน์ คุณค่า และมารยาทของผู้เล่น ผู้ดูกีฬาที่ดี
                ได้ถูกต้อง

๔. สาระการเรียนรู้
          ๔.๑ จุดประสงค์การเรียนรู้ การวัดประเมินผล การปฏิบัติตนระหว่างเรียน
          ๔.๒ ประวัติความเป็นมาของกีฬาวอลเลย์บอล ประโยชน์ มารยาทของผู้เล่นและผู้ดูกีฬา
                 ที่ดี
          ๔.๓ รายละเอียดข้อ ๔.๑ – ๔.๒ อยู่ในเนื้อความรู้ที่ ๑.๑ เรื่องข้อตกลงเบื้องต้นใน
                 การเรียนการสอน และเนื้อหาความรู้ที่ ๑.๒ เรื่องความรู้ทั่วไปของกีฬาวอลเลย์บอล                  ที่แนบอยู่ท้ายแผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๑

๕. กิจกรรมการเรียนรู้
          ๕.๑ ขั้นนำ / ขั้นเตรียม (๕-๑๐ นาที)
                ๕.๑.๑ นักเรียนทุกคนเรียนที่ห้องเรียน e-learning

                ๕.๑.๒ หัวหน้าชั้นสำรวจรายชื่อของนักเรียนทุกคน

สวัสดี

สวัสดีครับ   ยินดีต้อนรับเข้าสู่การแข่งขันกีฬา สพฐ. ประจำปี 2554 รอบคัดเลีอกภาคกลาง 2.